ปั๊มคอนกรีตในประเทศไทย

ปั๊มคอนกรีตเริ่มเข้า มามีบทบาทในประเทศในปี พ.ศ.2522 โดยมีการนำปั๊มคอนกรีตเข้ามาใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น งานสร้างเขื่อน แต่ในช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะราคาของปั๊มคอนกรีตและค่าใช้จ่ายในการปั๊มสูง รวมทั้งขาดผู้ชำนาญ ในการปั๊มคอนกรีตด้วย

ในปี พ.ศ.2522 ประเทศไทยมีปั๊มคอนกรีตอยู่เพียง 16 เครื่อง เป็นแบบติดตั้งติดตั้งบนรถบรรทุก (TRUCK MOUNTED CONCRETE PUMP) 7 เครื่องที่เหลือเป็นแบบติดตั้งอยู่กับที่ (STATIONARY CONCRETE PUMP) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นของผู้รับเหมารายใหญ่เท่านั้น

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 เป็นต้นมา ปั๊มคอนกรีตได้ถูกใช้ในงานก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการก่อสร้างอาคารสูง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น

  1. ได้มีการพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตให้เหมาะกับงานปั๊มคอนกรีตมากขึ้น
  2. มีการนำน้ำยาผสมคอนกรีตที่ช่วยทำให้คอนกรีตลื่น และคอนกรีตแข็งตัวช้ามาใช้ ทำให้สะดวกมากขึ้นในการใช้ปั๊ม
  3. มีผู้ชำนาญในการใช้ปั๊มคอนกรีตมากขึ้น
  4. ความต้องการให้การก่อสร้างเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น
  5. อัตราค่าแรงสูงมากขึ้นรวมทั้งบุคลากรหายากขึ้น

จากข้อมูลปี พ.ศ.2532 พบว่า 10-15% ของคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้ในเขต กรุงเทพมหานคร ถูกลำเลียงผ่านปั๊มคอนกรีต

pum-concrete-1

ข้อมูลจาก ศูนย์วิชาการคอนกรีตซีแพค