ข้อควรปฎิบัติของผู้เกี่ยวข้องกับงานปั๊มคอนกรีต
ศูนย์จัดส่งคอนกรีต เมื่อต้องใช้ปั๊มคอนกรีตต้องระบุและสั่งคอนกรีตสำหรับใช้กับปั๊มคอนกรีต ต้องกำชับผู้ควบคุมเครื่องชั่งว่า คอนกรีตนั้นใช้กับปั๊มคอนกรีต และรู้ส่วนผสมที่ถูกต้อง ก่อนเริ่มจัดส่งคอนกรีตต้องตรวจสอบกับหน่วยงานก่อสร้างว่าติดตั้งปั๊มคอนกรีต และเดินท่อส่งคอนกรีตเรียบร้อยและพร้อมที่จะเทหรือยัง ต้องรู้จำนวนที่เทล่วงหน้า เพื่อเตรียมวัตถุดิบ จัดรถโม่ให้เพียงพอ เพื่อการจัดส่งได้ต่อเนื่อง ผู้ควบคุมเครื่องชั่ง ต้องรู้ส่วนผสมสำหรับงานปั๊มคอนกรีต ซึ่งมักใช้ซีเมนต์และทรายมากกว่าปกติ ต้องมีวัตถุดิบเพียงพอ เพื่อให้คอนกรีตที่มีค่ายุบตัวและคุณภาพสม่ำเสมอ ต้องคอยสังเกตความชื้นของทรายเปลี่ยนไปหรือไม่ โดยต้องปรับอัตราส่วนผสมให้ถูกต้องตามสถานการณ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่อัตราส่วนผสมของทรายในคอนกรีตต้องถูกต้องอยู่เสมอ ต้องคอยบันทึกปริมาณน้ำที่ใส่ในคอนกรีตอยู่เสมอ … Read More
เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้ทาวเวอร์เครน
เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้ทาวเวอร์เครน ได้เปรียบ ปั๊มคอนกรีต ทาวเวอร์เครน 1. ความรวดเร็ว เทได้รวดเร็ว และจำนวนมาก เทได้ช้ากว่า 2. ความสามารถในการเท เทได้บริเวณกว้าง เทได้บริเวณจำกัดเท่ากับรัศมีของ CRANE 3. พื้นที่ติดตั้ง ใช้พื้นที่น้อยในการติดตั้งเครื่องมือ ใช้พื้นที่มาก สำหรับตั้งเครื่องมือ เสียเปรียบ … Read More
เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้ลิฟท์
เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้คนงาน ได้เปรียบ ปั๊มคอนกรีต ลิฟท์ 1. ความสะดวกรวดเร็ว เทได้รวดเร็ว สะดวก ไม่ต้องใช้คนคอยขนถ่ายอีกที เทได้ที่จุดต้องการ ต้องมีคนมาคอยรับที่ลิฟท์อีกทีหนึ่ง แล้วค่อยนำไปจุดที่ต้องการ 2. แรงงาน ประหยัดแรงงาน ต้องใช้คนงานคอยขนถ่ายคอนกรีตเพิ่มอีก 3. การสิ้นเปลืองคอนกรีต โดยเปล่าประโยน์ สิ้นเปลืองน้อย … Read More
เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้คนงาน
เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้คนงาน ได้เปรียบ ปั๊มคอนกรีต คนงาน 1. ความสะดวกรวดเร็ว เทได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา และปริมาณมากกว่า เทได้ช้าและปริมาณน้อย 2. แรงงาน ประหยัดแรงงาน เปลืองคนงานมาก ในการเทคอนกรีต จำนวนมากๆ และควบคุมยาก 3. การสิ้นเปลืองคอนกรีต โดยเปล่าประโยน์ … Read More
คอนกรีตสำหรับงานปั๊มคอนกรีต
ส่วนผสมของ คอนกรีตเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการลำเลียงคอนกรีตโดยใช้ปั๊มคอนกรีต เราจะมาพิจารณาส่วนผสมของคอนกรีตที่เหมาะสมสำหรับงานปั๊มคอนกรีต ส่วนผสมของคอนกรีตแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ หิน, ทราย, ซีเมนต์,และส่วนที่เป็นของเหลวคือ น้ำ ซึ่งในส่วนผสมที่กล่าวนี้ น้ำเป็นส่วนผสมเดียวที่สามารถปั๊มได้ แต่เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมเป็นคอนกรีต เนื้อคอนกรีตจะสามารถปั๊มได้เมื่อส่วนผสมถูกนำมาผสมกัน ด้วยอัตราส่วนที่พอเหมาะ โดยที่น้ำเป็นตัวส่งผ่านแรงดันไปยังส่วนผสมอื่น ๆ … Read More
เมื่อไรควรใช้ปั๊มคอนกรีต
การนำปั๊มคอนกรีตไปใช้งาน ควรใช้ปั๊มคอนกรีตกับสถานการณ์ดังต่อไปนี้ การขาดแคลนแรงงาน เวลาก่อสร้างมีจำกัด การเทคอนกรีตจำนวนมาก สถานที่เทคอนกรีต ยากต่อการลำเลียงคอนกรีตโดยวิธีอื่น มีการจัดส่งคอนกรีตอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ คนงานมีความรู้ ประสบการณ์และมีการวางแผนงานที่ดี ข้อมูลจาก ศูนย์วิชาการคอนกรีตซีแพค
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ปั๊มคอนกรีต
ความรวดเร็วในการเทคอนกรีต ผู้รับเหมาสามารถเลือกขนาดและจำนวนปั๊มให้เหมาะสมกับลักษณะงานได้ ในขณะที่ถ้าใช้วิธีการอื่น เช่นการใช้ทาวเวอร์เครนหรือลิฟท์ อัตราการเทคอนกรีตจะถูกจำกัดด้วยทาวเวอร์เครนหรือลิฟท์ ความสะดวกในการเท สามารถวางตัวปั๊มไว้บริเวณที่รถคอนกรีตผสมเสร็จเข้าได้สะดวกและต่อท่อไปยัง บริเวณที่จะเทคอนกรีต ทำให้สามารถทำงานได้สะดวก การตกแต่งผิวคอนกรีตจะสิ้นเปลืองน้อย เนื่องจากคอนกรีตที่สามารถใช้ได้กับปั๊มคอนกรีตนั้น จะต้องมีส่วนผสมของทรายละเอียดอยู่จำนวนหนึ่ง จึงทำให้ผิวของคอนกรีตที่เทโดยปั๊มคอนกรีตนั้นค่อนข้างเรียบ และไม่สิ้นเปลืองในการฉาบผิวหลังจากการถอดแบบแล้ว ค่าแรงงานในการเทจะน้อยลง ทั้งนี้เนื่องจากการเทคอนกรีตโดยใช้ปั๊มคอนกรีต จะใช้คนน้อยกว่าการเทคอนกรีต โดยวิธีอื่น ๆ และยังสามารถเทได้ในเวลาที่รวดเร็วกว่าอีกด้วย … Read More
ประเภทของปั๊มคอนกรีต
ปั๊มลาก (Trailer Pump) ปั๊มคอนกรีตประเภทนี้ ตัวปั๊มและท่อส่งจะถูกแยกออกจากกัน ตัวปั๊มติดตั้งอยู่บนล้อเลื่อน เมื่อต้องการใช้งานรถบรรทุกจะพ่วงตัวปั๊มนี้ไป สู่หน้างานก่อสร้างหลังจากนั้นจะติดตั้งท่อและอุปกรณ์เข้ากับปั๊ม ปั๊มคอนกรีตแบบนี้มีแรงดันสูงมาก สามารถปั๊มคอนกรีตไปยังที่สูง ๆ ได้ รวมทั้งพื้นที่ในการติดตั้งน้อย แต่ต้องเสียเวลาในการติดตั้งท่อ และการเคลื่อนย้ายปั๊มทำได้ลำบาก ปั๊มโมลี / ไลน์ปั๊ม (Moli Pump … Read More
ปั๊มคอนกรีตในประเทศไทย
ปั๊มคอนกรีตเริ่มเข้า มามีบทบาทในประเทศในปี พ.ศ.2522 โดยมีการนำปั๊มคอนกรีตเข้ามาใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น งานสร้างเขื่อน แต่ในช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะราคาของปั๊มคอนกรีตและค่าใช้จ่ายในการปั๊มสูง รวมทั้งขาดผู้ชำนาญ ในการปั๊มคอนกรีตด้วย ในปี พ.ศ.2522 ประเทศไทยมีปั๊มคอนกรีตอยู่เพียง 16 เครื่อง เป็นแบบติดตั้งติดตั้งบนรถบรรทุก (TRUCK MOUNTED CONCRETE PUMP) … Read More
ปั๊มคอนกรีต คืออะไร
ปั๊มคอนกรีต (CONCRETE PUMP) คืออะไร ปั๊มคอนกรีต คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการลำเลียงคอนกรีตชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันปั๊มคอนกรีตได้เข้ามามีบทบาทในการลำเลียงคอนกรีต โดยเข้ามาทดแทนรถเข็น ,ลิฟท์ , ทาวเวอร์เครน , สายพานลำเลียงและวิธีการลำเลียงอื่น ๆ ทั้งนี้ เนื่องจากปั๊มคอนกรีตสามารถตอบสนองความต้องการในการเทคอนกรีตในที่สูงหรือใน ที่ที่มีอุปสรรค ยากต่อการเทคอนกรีตโดยวิธีอื่น รวมทั้งยังให้ความสะดวกรวดเร็วในการเทคอนกรีตเมื่อเทียบกับวิธีอื่นด้วย … Read More
คอนกรีตหดตัวต่ำ
คุณสมบัติ คอนกรีตประเภทนี้ถูกออกแบบส่วนผสมเพื่อลดการหดตัวของคอนกรีต โดยใช้วัสดุผสมเพิ่มเพื่อชดเชยการหดตัวของคอนกรีต ทำให้คอนกรีตในสภาวะที่ยังไม่แข็งตัวเกิดการขยายตัวไปก่อน ขั้นตอนการทำงาน คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมมาเพื่อใช้กับงานโครงสร้างที่ต้องการการหดตัวของคอนกรีตต่ำ เช่น งานคอนกรีตครอบหัวเสาเข็ม (Pile Cab Concrete) งานเทโครงสร้างถนน โครงสร้างพื้นในบริเวณกว้างๆ ข้อแนะนำ 1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า … Read More
คอนกรีตห้องเย็น
คุณสมบัติ คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบสำหรับ โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันอยู่สม่ำเสมอ โดยการเพิ่มปริมาณฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต เพื่อรองรับการขยายตัวของน้ำในเนื้อคอนกรีต เนื่องจากน้ำมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร เมื่อน้ำมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ส่วนผสมของคอนกรีตประเภทนี้มีการผสมน้ำยากักกระจายฟองอากาศ ตามมาตรฐาน ASTM C 260 เพื่อเพิ่มฟองอากาศภายในเนื้อคอนกรีต และสารลดปริมาณน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 … Read More
คอนกรีตไหลเข้าแบบง่าย
คุณสมบัติ คอนกรีตไหลเข้าแบบง่าย ถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติความลื่นไหลสูงและมีการแยกตัวต่ำ จึงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการ ความสามารถในการไหลเข้าแบบได้ง่าย กว่าคอนกรีตปกติทั่วไป และไม่ต้องทำคอนกรีตให้แน่น เช่นงานโครงสร้างอาคารที่มีเหล็กเสริมหนาแน่น เพื่อช่วยลดการเกิดโพรงที่บริเวณโครงสร้างเมื่อถอดแบบ คอนกรีตชนิดนี้มีหลักการออกแบบ ที่ต้องคำนึงถึงทั้งค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ที่เหมาะสม และปริมาณส่วนละเอียดที่เพียงพอ ที่จะทำให้คอนกรีตไหลเข้าแบบได้ง่ายโดยไม่ต้องทำคอนกรีตให้แน่น นอกจากนี้ขนาดโตสุดและขนาดคละของมวลรวม ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องคำนึงถึงอีกด้วย ขั้นตอนการทำงาน คอนกรีตชนิดนี้ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่มีปริมาณเหล็กเสริมในปริมาณมาก โครงสร้างที่มีความหนาค่อนข้างน้อย … Read More
คอนกรีตความร้อนต่ำ
คุณสมบัติ ในการก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ ที่มีความหนามากกว่า 0.50 เมตรขึ้นไป สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องคำนึงถึง คือ อุณหภูมิของคอนกรีตและปัญหาการแตกร้าวอันเนื่องจากอุณหภูมิ ด้วยความสำคัญดังกล่าว คอนกรีตความร้อนต่ำ จึงถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อป้องกันปัญหาการแตกร้าวที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากความแตกต่างของอุณหภูมิคอนกรีตที่ผิวและที่ชั้นกลาง โดยอาศัยการเลือกใช้วัสดุผสม และสัดส่วนผสมคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อลดอุณหภูมิเริ่มต้นของคอนกรีต ให้อยู่ในระดับที่ออกแบบ นอกจากนี้ยังควรมีป้องกันความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิที่ผิวคอนกรีต และอุณหภูมิที่ชั้นกลางของคอนกรีต ไม่ให้มากกว่า 20 … Read More
คอนกรีตทนน้ำเค็ม
คุณสมบัติ ในน้ำเค็มจะมีสารประกอบหลักที่สำคัญคือคลอไรด์ โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยโซเดียมคลอไรด์ แมกนีเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคลอไรด์ ดังนั้น ในการออกแบบคอนกรีตทนน้ำเค็ม จึงอาศัยหลักการป้องกันการซึมผ่านของสารครอไรด์ และการจับยึด ไม่ให้คลอไรด์เข้าไปทำปฏิกิริยากับเหล็กเสริมจนเป็นสนิม โดยทั่วไป สามารถแบ่งสภาพแวดล้อม การสัมผัสกับบรรยากาศทะเล ของโครงสร้างคอนกรีตได้สี่สภาวะดังนี้ + สภาวะที่ 1 โครงสร้างสัมผัสกับไอทะเล + สภาวะที่ … Read More
คอนกรีตต้านทานซัลเฟต
คุณสมบัติ คอนกรีตต้านทานซัลเฟตพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับ งานโครงสร้างที่ต้องทนทานต่อซัลเฟตโดยเฉพาะ โดยอาศัยหลักสำคัญ 2 ประการคือุ + ออกแบบโดย ใช้ค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ ต่ำกว่า 0.50 ตามมาตรฐาน ACI 201.2R Durable Concrete เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีการซึมผ่านของน้ำและสารเคมีต่ำ ุ + เลือกใช้สัดส่วนผสมคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิด secondary … Read More
คอนกรีตแข็งตัวเร็ว
คุณสมบัติ เป็นคอนกรีตที่ถูกพัฒนามาเพื่องานที่ต้องการกำลังอัด ที่กำหนดในช่วงระยะสั้น โดยส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้จะใช้น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทลดน้ำอย่างมาก ตามมาตรฐาน ASTM C 494 คอนกรีตประเภทนี้จะมีระยะเวลาการแข็งตัวที่เร็วกว่าคอนกรีตปกติ ทำให้คอนกรีตสามารถพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นได้ดี ขั้นตอนการทำงาน คอนกรีตประเภทนี้ใช้สำหรับงานซ่อมแซมผิวถนน ที่ต้องการกำลังอัดสูงในช่วงต้น งานที่ต้องการเปิดหน้างานเร็ว งานหล่อชิ้นส่วนสำเร็จรูป เป็นต้น โดยทั่วไปคอนกรีตชนิดนี้จะถูกออกแบบมาให้สามารถพัฒนากำลังอัดได้ตามค่าที่ ต้องการภายในระเวลา 8-24 ชั่วโมง … Read More
คอนกรีตกำลังอัดสูง
คุณสมบัติ คอนกรีตกำลังอัดสูงเป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาให้รองรับงานที่ต้องการกำลัง อัดสูงกว่า 450 กก./ตร.ซม ที่อายุ 28 วัน โดยส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้จะใช้น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทลดน้ำอย่างมาก หรือ น้ำยาลดน้ำอย่างมากและหน่วงการก่อตัวของคอนกรีต ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ขั้นตอนการทำงาน คอนกรีตชนิดนี้เหมาะสำหรับงานอาคารสูง งานโครงสร้างขนาดใหญ่หรืองานใดๆ ที่ต้องการกำลังอัดสูง ภายหลังจากการเทคอนกรีต … Read More