ในงานตอกเสาเข็ม LAST 10 BLOW COUNT ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจเป็นอันดับแรก

โดยปกติถ้าเป็นดินที่อยู่แถวกรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นดินอ่อน การจะตอกเสาเข็มให้ลึกจนถึงชั้นดินแข็งได้ก็จะต้องตอกให้ลึกประมาณ 21 เมตร หากใช้เสาเข็มแบบสปันไมโครไพล์ก็จะต้องใช้เสาเข็ม 14 ท่อนในการตอก 1 ต้น แต่เนื่องจากว่าหน้าดินของแต่ละที่ไม่เหมือนกันดังนั้นจึงต้องหาวิธีที่เป็นมาตรฐานในการทดสอบว่าเสาเข็มที่ตอกไปลงลึกจนถึงระดับที่จะสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ วิธีที่นิยมใช้ก็คือการนับโบว์เคาท์ Last 10 Blow Count หมายถึงระยะจมของเสาเข็มในการทดสอบด้วยการตอก 10 ครั้ง ซึ่งจะต้องมีค่าไม่เกินกว่าที่คำนวณได้จึงจะผ่านเกณฑ์ … Read More

COLD JOINT – การแก้ปัญหาเวลาที่เทคอนกรีต แล้วคอนกรีตขาดช่วง

ในทางทฤษฎีการหยุดเทคอนกรีตนานเกิน 30 นาที ถ้าจะเทใหม่จะต้องรออีก 20 ชั่วโมง แต่ด้วยเวลาที่จำกัดเพื่อที่จะต้องเร่งปิดงานให้เสร็จทันกำหนดจึงไม่สามารถรอนานขนาดนั้นได้ เพราะจะไปกระทบกับงานในช่วงถัดไปที่ได้กำหนดเวลาเอาไว้แล้ว ดังนั้นจึงควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องรวดเดียวจนเสร็จ แต่ก็มักจะมีเหตุสุดวิสัยที่ต้องหยุดงาน เช่น คอนกรีตขาดช่วงเพราะรถส่งคอนกรีตมาหน้างานไม่ทัน เป็นต้น ในบล็อกนี้จึงได้เขียนถึงการแก้ปัญหาเวลาคอนกรีตขาดช่วงแล้วจะทำยังไงให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด การแก้ปัญหาเวลาที่เทคานคอนกรีตแล้วคอนกรีตขาดช่วง วิเคราะห์ตามโครงสร้างของคานคอนกรีต จะมีความสามารถรับแรงอัดและแรงเฉือนได้ดี แต่จะไม่สามารถรับแรงดึงได้ ดังนั้นจึงจะเป็นต้องมีเหล็กเสริมเพื่อเพิ่มความสามารถในตรงนี้ และตามลักษณะของโมเมนต์กับแรงเฉือน … Read More

สาเหตุของการเกิดรอยร้าวของคอนกรีต ก่อนที่คอนกรีตจะเริ่มแข็งตัว

การแตกร้าวของคอนกรีตเป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากจะให้เกิดขึ้น แต่บางครั้งถ้าหากเทคอนกรีตไม่ถูกวิธีก็อาจจะสร้างรอยร้าวขึ้นมาได้ ในบล็อกนี้ได้เอาปัญหาการแตกร้าวของคอนกรีตก่อนที่ของคอนกรีตจะเริ่มแข็งตัวมาให้ได้อ่านกัน ซึ่งรอยร้าวชนิดนี้จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 2 – 8 ชั่วโมง ภายหลังจากการเทคอนกรีต โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกร้าวชนิดนี้แบ่งออกเป็นประเภทหลักๆ ได้ดังนี้ การขยับตัวของแบบหล่อคอนกรีต (Form or Subgrade Movement) รอยร้าวชนิดนี้มีสาเหตุมาจากความชื้น ซึ่งจะทำให้แบบพองตัวหรือแบบอาจไม่แข็งแรงพอรับน้ำหนักของคอนกรีตได้ อย่างไรก็ตามวัสดุยึดตรึงแบบ ไม่ว่าจะเป็นตะปู … Read More

การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (PLASTIC SHRINKAGE CRACKING)

การแตกร้าวของถนนนั้นมักจะเกิดขึ้นขณะที่คอนกรีตกำลังแข็งตัวหรือเป็นที่รู้จักกันในเชิงวิชาการคอนกรีตว่า การแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracking) ซึ่งนอกจากมีโอกาสสูงที่จะเกิดกับงานถนนแล้วยังเกิดกับงานประเภทพื้นที่อยู่กลางแจ้งอื่นได้อีกด้วย อาทิ พื้นนอาคาร, ดาดฟ้าและลานประเภทต่างๆ เป็นต้น การแตกร้าวในลักษณะน้ีจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ต่างกับการแตกร้าวเนื่องจากคอนกรีตหดตัวแบบแห้งซึ่งจะเป็นเส้นค่อนข้างตรง และยาว ที่มักจะเกิดข้ึนเมื่อไม่มีการตัดรอยต่อที่ถูกต้อง สาเหตุของการแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก การที่คอนกรีตเกิดการแตกร้าวแบบนี้มีสาเหตุมาจากคอนกรีตหดตัวอย่างเฉียบพลันในช่วงที่ยังอยู่ในสภาพยังไม่แข็งตัว (Pre-hardened Stage) ซึ่งคอนกรีตในช่วงนี้แทบจะไม่มีความสามารถในการรับแรงเค้นที่เกิดจากแรงดึง (Tensile … Read More

อิฐมวลเบา (LIGHTWEIGHT CONCRETE)

อิฐมวลเบา (Lightweight Concrete) คือคอนกรีตมวลเบาหรืออิฐมวลเบา เป็นวัสดุสำหรับก่อผนังสำหรับอาคารสูงหรือบ้านที่อยู่อาศัย เป็นวัสดุก่อที่นำเทคโนโลยีการผลิตมาจากต่างประเทศ มีทั้งแบบบล็อกตันและบล็อกกลวง (คล้ายคอนกรีตบล็อก) ขนาดใหญ่ แต่น้ำหนักเบามากกว่าเนื่องจากมีฟองอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอในเนื้อวัสดุ อิฐมวลเบามีขนาดมาตรฐาน กว้าง 20 x 20 เซนติเมตร และมีความหนาตั้งแต่ 7.5, 10, 12.5, … Read More

สารยับยั้งการเกิดสนิมของเหล็กเสริม (CORROSION INHIBITOR)

การเกิดสนิมของเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งรอยแตกร้าว คราบน้ำสนิม การหลุดร่อนของคอนกรีต รวมไปถึงการพังทลายของโครงสร้าง ความเสียหายที่มักพบเนื่องจากสาเหตุการเกิดสนิมได้แก่ คราบน้ำสนิมบนผิวคอนกรีต รอยแตกร้าวเนื่องจากการขยายตัวของสนิมเหล็ก การระเบิดออกของผิวคอนกรีต ซึ่งหากไม่มีการซ่อมแซมโครงสร้างดังกล่าวอย่างถูกต้องเหมาะสม อาจนำไปสู่การพังทลายของโครงสร้างได้ การซ่อมแซมการเกิดสนิมอีกวิธีวิธีที่ได้รับการนิยมเป็นอย่างสูง ได้แก่ การใช้สารยับยั้งการเกิดสนิม ซึ่งมีความสะดวกในการดำเนินการ และอาจใช้ควบคู่ไปกับวิธีการป้องกันและซ่อมแซมอื่นๆ ได้ เพื่อให้ระบบการป้องกันและซ่อมแซมมีความประสิทธิภาพ และมีความคงทนมากยิ่งขึ้น สารยับยั้งการเกิดสนิม (Corrosion Inhibitor) … Read More

สนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตคืออะไร มีข้อเสียยังไง แล้วจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

ปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีต เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร โดยเฉพาะอาคารที่ถูกสร้างมานานหลายปี ปัญหาที่เกิดจากการเกิดสนิมในเหล็กเสริมจะทำให้พื้นที่หน้าตัดของเหล็กลดลงและคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมเกิดรอยแตกร้าวหลุดร่อนออกไป ทำให้สูญเสียความสามารถในการรับแรง อาคารเก่าแก่ที่มีอายุการใช้งานมานาน เมื่อเกิดปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตที่รุนแรง จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของอาคารและเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร กลไกการเกิดสนิมเหล็ก การเกิดสนิมเหล็กเป็นผลจากการทำปฏิกิริยาเคมีของเหล็ก เป็นปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า (electronchemical) ของเหล็กกับสารประกอบที่ปะปนในสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสกับเหล็กนั้นๆ กระบวนการเกิดสนิมเหล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดสนิมในเหล็กที่มีวัสดุอื่นมาปกคลุมผิว เช่น โครงเหล็กของอาคารที่ผิวทาสีกันสนิมหรือในเหล็กเสริมคอนกรีต จะมีกระบวนการเกิดสนิมที่ซับซ้อน ค่อยเป็นค่อยไป   การเกิดสนิมเหล็ก … Read More

ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็ก (CONCRETE COVERING) มีระยะต่ำสุดที่เท่าไหร่

ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) ก็คือระยะของคอนกรีตที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมสัมผัสกับน้ำหรืออากาศโดยตรงเพื่อทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี หรือป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมทำปฏิกิริยากันเหล็กเสริมจนทำให้เกิดสนิมขุม และทำให้โครงสร้างสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุด ทั้งนี้การวัดความหนาของระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต ให้วัดจากผิวด้านนอกของคอนกรีตลึกเข้าไปจนถึงผิวด้านนอกของเหล็กปลอก (ในกรณีที่ไม่มีเหล็กปลอกก็ให้วัดถึงผิวของเหล็กเสริมเส้นนอกสุด) สำหรับระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมนั้น ACI กำหนดให้ระยะช่องว่างน้อยที่สุดระหว่างเหล็กเสริมเท่ากับค่าที่มากกว่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กเสริม DB, 2.5 ซ.ม. และ 1.33 เท่าของขนาดมวลรวมโตสุด โดยเหล็กนอนในคานทั้งหมดจะถูกห่อหุ้มโดยเหล็กปลอก ระยะหุ้มคอนกรีตต่ำสุดที่ … Read More

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก เรื่องพื้นฐานสำหรับงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านพักอาศัยที่นิยมกันทั่วไปมี 2 ชนิด ด้วยกัน คือ พื้นสำเร็จวางบนคานและพื้นชนิดวางบนดิน การก่อสร้างพื้นทั้ง 2 ชนิดนี้มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนมากนัก พื้นสำเร็จวางบนคาน (Slap on Beam) พื้นชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักลงสูงโครงสร้างอาคารในแนวเดียวลงสู่คานที่ได้ออกแบบไว้สำหรับรับน้ำหนักจากแผ่นพื้น แผ่นพื้นชนิดนี้โดยปกติจะมีความยาว 2 – 5 เมตร และมีความกว้าง … Read More

ผนังอิฐมวลเบา สามารถแขวนของหนักได้มากแค่ไหน

ในวงการก่อสร้างช่วงหลังมานี้ นิยมนำอิฐมวลเบามาใช้ในงานก่อสร้างกันมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าอิฐแบบทั่วไป แต่เนื่องจากว่าเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบาจึงช่วยในเรื่องการลดน้ำหนักของโครงสร้างอาคารได้ ลดความร้อน และทนต่อไฟไหม้ได้มากกว่า ทั้งยังช่วยให้ทำงานก่อสร้างได้ง่ายขึ้น และช่วยประหยัดเวลาในทำงานอีกด้วย การออกแบบบ้านหรือว่าคอนโดส่วนใหญ่จะเน้นแบบโมเดิร์น ซึ่งนิยมติดตั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เป็นแบบเจาะติดผนังเลย เช่น การติดตั้งโทรทัศน์แบบแขวนติดผนัง การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ทำชั้นวางหนังสือแบบยึดติดผนัง หลายคนอาจจะสงสัยว่าผนังบ้านที่ใช้อิฐมวลเบาจะสามารถแขวนของที่มีน้ำหนักมากขนาดนี้ได้ไหม ในบล็อกนี้จึงขอเอาข้อมูลมาให้ทุกคนได้อ่านกัน โดยทั่วไปหากเราเลือกที่ได้มาตรฐานมาใช้ในการสร้างบ้าน ผนังที่สร้างจากอิฐมวลเบาก็จะสามารถรองรับน้ำของสิ่งของพวกนี้ได้หมดครับ แต่มีเคล็ดลับอยู่ที่การเจาะติดตั้ง … Read More

ฐานราก (FOOTING) แบ่งออกได้เป็นกี่ชนิด แต่ละชนิดมีอะไรบ้าง

ฐานราก (Footing) ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากโครงสร้างทั้งหมดแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็มหรือดินโดยตรง คุณสมบัติของดินที่รองรับฐานรากควรมีความสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้โดยไม่เกิดการเคลื่อนตัวหรือพังทลายของดินใต้ฐานรากและต้องไม่เกิดการทรุดตัวลงมากจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้าง ฐานราก ถูกแบ่งออกตามลักษณะได้ 2 ชนิด คือ ฐานรากตื้น (Shallow Foundation) หรือแบบไม่มีเสาเข็มรองรับ หมายถึงฐานรากซึ่งลึกจากระดับผิวดินน้อยกว่า หรือเท่ากับด้านที่สั้นที่สุดของฐานราก โดยฐานรากวางอยู่บนชั้นดินโดยตรง และไม่มีการตอกเสาเข็มเพื่อรองรับฐานราก เหมาะกับสภาพพื้นดินท่ีมีความสามารถแบกรับน้ำหนักบรรทุกได้สูง และกับสภาพพื้นดินท่ีตอกเสาเข็มไม่ลงหรืออย่างยากลำบาก เช่น … Read More

คอนกรีตหมดอายุ เราจะรู้ได้ยังไง

คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready-Mix Concrete) เป็นคอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงาน แต่การขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ซึ่งจะต้องส่งให้ถึงสถานที่ก่อสร้างภายในระยะเวลาที่กำหนด หากส่งล่าช้าจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของคอนกรีตผสมเสร็จ หรืออาจจะถึงขั้นไม่สามารถนำคอนกรีตผสมเสร็จนั้นมาใช้งานได้ คอนกรีตผสมเสร็จจะมีอายุประมาณ 2 ชั่วโมงนับตั้งแต่ผลิตเสร็จ ก็จะเริ่มทำการเซ็ตตัว โดยปกติแล้วจะต้องเร่งเทคอนกรีตให้ทันภายในเวลา 2 ชั่วโมง เนื่องจากว่าถ้าช้ากว่านี้ปูนก็จะเริ่มติดในรถโม่ ดังนั้นก่อนจะสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จเพื่อมาใช้ในงานก่อสร้าง ควรตรวจสอบระยะทาง และระยะเวลาในการเดินทางให้ดี รวมไปถึงควรเตรียมพื้นที่หน้างานและคนงานให้พร้อม … Read More

คอนกรีตผสมเสร็จ ควรเทให้เสร็จภายใน 2 ชั่วโมง

คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready-Mix Concrete) เป็นคอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงานแล้วลำเลียงใส่รถเพื่อจัดส่งให้กับหน่วยงานก่อสร้างต่างๆ แต่การขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ซึ่งจะต้องส่งให้ถึงสถานที่ก่อสร้างภายในระยะเวลาที่กำหนด หากส่งล่าช้าจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของคอนกรีตผสมเสร็จ หรืออาจจะถึงขั้นไม่สามารถนำคอนกรีตผสมเสร็จนั้นมาใช้งานได้ คอนกรีตผสมเสร็จจะมีอายุประมาณ 2 ชั่วโมงนับตั้งแต่ผลิต ก็จะเริ่มทำการเซ็ตตัว โดยปกติแพล้นท์คอนกรีตจะไม่ยอมให้การเทคอนกรีตล่าช้ากว่า 2 ชั่วโมงอยู่แล้ว เนื่องจากว่าถ้าช้ากว่านี้ปูนก็จะเริ่มติดในรถโม่ อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแยกปูนออกมาอีกด้วย และจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จไปให้กับลูกค้ารายอื่นไม่ทันอีกด้วย การขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จ จะต้องมีใบจ่ายสินค้าแนบมาด้วย … Read More

คอนกรีตที่ดีต้องบ่ม (ให้สุก)

เมื่อเทคอนกรีตเสร็จแล้วคอนกรีตสามารถแข็งตัวได้เองแต่ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าต้องการให้คอนกรีตมีคุณภาพท่ีดี มีความแข็งแรงทนทานและใช้งานได้นานต้องทำการบ่มคอนกรีตเสียก่อน ซึ่งเมื่อผสมคอนกรีตต้องใช้น้ำในการผสม จะทำให้เกิดปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ เรียกว่าปฏิกิริยาไฮเดรชันทำให้คอนกรีตแข็งตัวและรับกำลังได้ ปกติแล้วคอนกรีตสามารถแข็งตัวได้ภายใน 5 – 6 ชั่วโมง ภายหลังจากการผสมน้ำ และมีกำลังเพิ่มข้ึนอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเพิ่มกำลังของคอนกรีตไม่สามารถแยกได้ด้วยการดูจากตาเปล่า คือเราไม่สามารถบอกได้ว่าคอนกรีตที่เทพื้น กับคอนกรีตที่เทคาน ส่วนใดให้กำลังสูงกว่า การจะบอกว่าคอนกรีตส่วนไหนให้กำลังสูงกว่าต้องนำไปทดสอบโดยการกดให้แตก แล้ววัดว่าคอนกรีตดังกล่าวรับกำลังได้มากน้อยเพียงใด แม้ว่าคอนกรีตต้องการน้ำในส่วนผสมเพื่อทำปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ให้มากและสมบูรณ์ท่ีสุด … Read More

คอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE)

คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete) คือ คอนกรีตที่มีการเพิ่มสมรรถภาพการรับน้ำหนัก โดยการนำเหล็กเข้ามาเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถที่ขาดไปของคอนกรีต โดยเฉพาะในเรื่องความเปราะและการรับแรงดึง กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดกำลังคือ คอนกรีตรับแรงอัดและเหล็กเสริมรับแรงดึง เนื่องจากคอนกรีตมีความแข็งแรงในการรับแรงอัดได้ดีแต่มีความอ่อนแอในการรับแรงดึง ดังนั้นเมื่อรับน้ำหนักจะเกิดการแตกร้าวจากการหดตัวและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดหน่วยแรงดึงเกินกว่าที่คอนกรีตจะรับได้ ในคานคอนกรีตโมเมนต์ดัดที่เกิดขึนบนหน้าตัดจะถูกต้านทานโดยคู่ควบแรงอัด-แรงดึงในคอนกรีต คานดังกล่าวจะวิบัติอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดรอยร้าวครั้งแรก ในคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กเส้นจะถูกเสริมเข้าไปในคอนกรีตเพื่อรับแรงดึงทำหน้าท่ีแทนคอนกรีตหลังเกิดการแตกร้าว เพื่อทำหน้าท่ีเป็นแรงคู่ควบร่วมกับแรงอัดในคอนกรีตในการต้านทานโมเมนต์ดัดท่ีเกิดจากน้ำหนักบรรทุก เหล็กและคอนกรีตท้างานร่วมกันอย่างดีเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กและคอนกรีตมีเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการเลื่อนไถลของเหล็กเสริม … Read More

การแก้ไขปัญหาปูนแตกร้าวบนดาดฟ้าอาคาร จนน้ำซึมเข้าในอาคารหรือตัวบ้าน

ดาดฟ้า เป็นบริเวณสำคัญที่ช่วยปกป้องบ้านและอาคาร เนื่องจากเป็นบริเวณที่ต้องรับน้ำฝนและแสงแดดโดยตรง ควรดูแลรักษาดาดฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ดีจะช่วยป้องกันปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม เพราะน้ำที่ซึมเข้าไปจะทำให้เหล็กเส้นโครงสร้างภายในคอนกรีตเป็นสนิม และดันคอนกรีตปริแตก ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของอาคารได้ สาเหตุ ของปัญหาพื้นดาดฟ้าร้าว รั่ว คอนกรีตกระเทาะหลุดร่อน มาจากน้ำรั่วซึมจากดาดฟ้า ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นอาคารเก่าที่ไม่ได้ทำระบบกันซึมเอาไว้ หรืออาจจะทำแล้วแต่ว่าเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน หรือเกิดจากการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน การเทพื้นดาดฟ้าไม่ได้ระดับทำให้เกิดน้ำขังเป็นแอ่ง ส่งผลให้น้ำซึมเข้ามาถึงเหล็กโครงสร้างจนเกิดสนิม เมื่อเหล็กเริ่มเป็นสนิมจะเกิดการพองตัวไปดันคอนกรีตที่หุ้มผิวด้านนอกจนแตกร้าวและหลุดร่อนออกมา การแก้ไขปัญหาปูนแตกร้าวบนดาดฟ้าอาคาร ส่วนดาดฟ้า … Read More

การเทลีน (LEAN CONCRETE) เรื่องพื้นฐานงานก่อสร้างที่ไม่ควรละเลย

เทลีนหรือการเทคอนกรีตเพื่อปรับผิวหน้าดิน นิยมทำเพื่อเตรียมพื้นที่ไว้รองรับการผูกเหล็กและการเทคอนกรีตในงานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้สำหรับเทรองก้นหลุมป้องกันความสกปรกแก่คอนกรีตและเหล็กเสริม เช่น ดินโคลน น้ำใต้ดิน ช่วยให้ทำงานได้สะดวก ไม่เฉอะแฉะ การเทลีน (Lean Concrete) ยังช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้นด้วย เช่นการผูกเหล็กเพื่อทำโครงสร้างมีระดับติดกับพื้นดินอย่างเช่นฐานรากหรือคานคอดิน เนื่องจากเหล็กเสริมควรจะมีคอนกรีตหุ้มอยู่ไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้าง และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิมอีกด้วย

การเจาะสำรวจดิน (SOIL BORING TEST)

สภาพชั้นดินในหลายพื้นที่ของประเทศไทยนั้นอาจมีความแปรปรวนของชั้นดิน ทำให้สภาพพื้นที่แตกต่างไปจากพื้นที่ทั่วไป เช่น มีชั้นทรายหลวมผิดปกติ มีชั้นดินเหนียวอ่อน หรือระดับความลึกของชั้นดินที่แข็งแรงมีความผันแปรสูง เป็นต้น จากสภาพของชั้นดินดังกล่าว อาจทำให้ฐานรากเกิดการวิบัติได้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง ก่อนที่วิศวกรจะทำการออกแบบฐานรากให้ดีและเหมาะสมนั้น จึงต้องจัดให้มีการเจาะสำรวจดินอย่างเพียงพอ เพื่อให้การออกแบบสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นไปอย่างละเอียดรอบครอบ ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม เพื่อการวิเคราะห์ดินจากประสบการณ์และการสังเกต เมื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับดินในส่วนใดแล้ว จะต้องมีการวางแผนการสำรวจดิน เพื่อให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย … Read More

1 3 4 5 6 7 8