ข้อดีและข้อเสีย คอนกรีตผสมเสร็จ

ข้อดี คอนกรีตผสมเสร็จ ข้อดีของการใช้คอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตผสมเสร็จ ที่ผสมจากโรงงาน ได้ทำการผสมด้วยอัตราส่วนที่ได้มาตรฐานในการใช้งาน คอนกรีตผสมเสร็จ สามารถกำหนด specification ได้ ต้องการความแข็งแกร่งเท่าไหร่และค่ายุบตัวเท่าไหร่ เพื่อให้เหมาะกับงานที่ต้องการใช้งานมากที่สุด ซึ่งข้อมูลส่วนผสมของ คอนกรีตผสมเสร็จ เหล่านี้ได้ผ่านการศึกษาวิจัยจากห้องปฏิบัติการมา ต่างจากการผสมเอง ซึ่งมักจะใช้ประสบการณ์ในการคาดคะเนส่วนผสมทำให้ คอนกรีต ที่ได้ อาจจะมีความไม่แม่นยำเท่าที่ควรของคอนกรีต … Read More

คอนกรีตหดตัวต่ำ

คุณสมบัติ คอนกรีตประเภทนี้ถูกออกแบบส่วนผสมเพื่อลดการหดตัวของคอนกรีต โดยใช้วัสดุผสมเพิ่มเพื่อชดเชยการหดตัวของคอนกรีต ทำให้คอนกรีตในสภาวะที่ยังไม่แข็งตัวเกิดการขยายตัวไปก่อน ขั้นตอนการทำงาน คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมมาเพื่อใช้กับงานโครงสร้างที่ต้องการการหดตัวของคอนกรีตต่ำ เช่น งานคอนกรีตครอบหัวเสาเข็ม (Pile Cab Concrete) งานเทโครงสร้างถนน โครงสร้างพื้นในบริเวณกว้างๆ ข้อแนะนำ 1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า … Read More

คอนกรีตห้องเย็น

คุณสมบัติ คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบสำหรับ โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันอยู่สม่ำเสมอ โดยการเพิ่มปริมาณฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต เพื่อรองรับการขยายตัวของน้ำในเนื้อคอนกรีต เนื่องจากน้ำมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร เมื่อน้ำมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ส่วนผสมของคอนกรีตประเภทนี้มีการผสมน้ำยากักกระจายฟองอากาศ ตามมาตรฐาน ASTM C 260 เพื่อเพิ่มฟองอากาศภายในเนื้อคอนกรีต และสารลดปริมาณน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 … Read More

คอนกรีตไหลเข้าแบบง่าย

คุณสมบัติ คอนกรีตไหลเข้าแบบง่าย ถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติความลื่นไหลสูงและมีการแยกตัวต่ำ จึงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการ ความสามารถในการไหลเข้าแบบได้ง่าย กว่าคอนกรีตปกติทั่วไป และไม่ต้องทำคอนกรีตให้แน่น เช่นงานโครงสร้างอาคารที่มีเหล็กเสริมหนาแน่น เพื่อช่วยลดการเกิดโพรงที่บริเวณโครงสร้างเมื่อถอดแบบ คอนกรีตชนิดนี้มีหลักการออกแบบ ที่ต้องคำนึงถึงทั้งค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ที่เหมาะสม และปริมาณส่วนละเอียดที่เพียงพอ ที่จะทำให้คอนกรีตไหลเข้าแบบได้ง่ายโดยไม่ต้องทำคอนกรีตให้แน่น นอกจากนี้ขนาดโตสุดและขนาดคละของมวลรวม ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องคำนึงถึงอีกด้วย ขั้นตอนการทำงาน คอนกรีตชนิดนี้ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่มีปริมาณเหล็กเสริมในปริมาณมาก โครงสร้างที่มีความหนาค่อนข้างน้อย … Read More

คอนกรีตความร้อนต่ำ

คุณสมบัติ ในการก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ ที่มีความหนามากกว่า 0.50 เมตรขึ้นไป สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องคำนึงถึง คือ อุณหภูมิของคอนกรีตและปัญหาการแตกร้าวอันเนื่องจากอุณหภูมิ ด้วยความสำคัญดังกล่าว คอนกรีตความร้อนต่ำ จึงถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อป้องกันปัญหาการแตกร้าวที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากความแตกต่างของอุณหภูมิคอนกรีตที่ผิวและที่ชั้นกลาง โดยอาศัยการเลือกใช้วัสดุผสม และสัดส่วนผสมคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อลดอุณหภูมิเริ่มต้นของคอนกรีต ให้อยู่ในระดับที่ออกแบบ นอกจากนี้ยังควรมีป้องกันความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิที่ผิวคอนกรีต และอุณหภูมิที่ชั้นกลางของคอนกรีต ไม่ให้มากกว่า 20 … Read More

คอนกรีตทนน้ำเค็ม

คุณสมบัติ ในน้ำเค็มจะมีสารประกอบหลักที่สำคัญคือคลอไรด์ โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยโซเดียมคลอไรด์ แมกนีเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคลอไรด์ ดังนั้น ในการออกแบบคอนกรีตทนน้ำเค็ม จึงอาศัยหลักการป้องกันการซึมผ่านของสารครอไรด์ และการจับยึด ไม่ให้คลอไรด์เข้าไปทำปฏิกิริยากับเหล็กเสริมจนเป็นสนิม โดยทั่วไป สามารถแบ่งสภาพแวดล้อม การสัมผัสกับบรรยากาศทะเล ของโครงสร้างคอนกรีตได้สี่สภาวะดังนี้ +  สภาวะที่ 1 โครงสร้างสัมผัสกับไอทะเล +  สภาวะที่ … Read More

คอนกรีตต้านทานซัลเฟต

คุณสมบัติ คอนกรีตต้านทานซัลเฟตพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับ งานโครงสร้างที่ต้องทนทานต่อซัลเฟตโดยเฉพาะ โดยอาศัยหลักสำคัญ 2 ประการคือุ + ออกแบบโดย ใช้ค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์  ต่ำกว่า 0.50 ตามมาตรฐาน ACI 201.2R Durable Concrete เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีการซึมผ่านของน้ำและสารเคมีต่ำ ุ + เลือกใช้สัดส่วนผสมคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิด secondary … Read More

คอนกรีตแข็งตัวเร็ว

คุณสมบัติ เป็นคอนกรีตที่ถูกพัฒนามาเพื่องานที่ต้องการกำลังอัด ที่กำหนดในช่วงระยะสั้น โดยส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้จะใช้น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทลดน้ำอย่างมาก ตามมาตรฐาน ASTM C 494 คอนกรีตประเภทนี้จะมีระยะเวลาการแข็งตัวที่เร็วกว่าคอนกรีตปกติ ทำให้คอนกรีตสามารถพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นได้ดี ขั้นตอนการทำงาน คอนกรีตประเภทนี้ใช้สำหรับงานซ่อมแซมผิวถนน ที่ต้องการกำลังอัดสูงในช่วงต้น งานที่ต้องการเปิดหน้างานเร็ว งานหล่อชิ้นส่วนสำเร็จรูป เป็นต้น โดยทั่วไปคอนกรีตชนิดนี้จะถูกออกแบบมาให้สามารถพัฒนากำลังอัดได้ตามค่าที่ ต้องการภายในระเวลา 8-24 ชั่วโมง … Read More

คอนกรีตกำลังอัดสูง

คุณสมบัติ คอนกรีตกำลังอัดสูงเป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาให้รองรับงานที่ต้องการกำลัง อัดสูงกว่า 450 กก./ตร.ซม ที่อายุ 28 วัน โดยส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้จะใช้น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทลดน้ำอย่างมาก หรือ น้ำยาลดน้ำอย่างมากและหน่วงการก่อตัวของคอนกรีต ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ขั้นตอนการทำงาน คอนกรีตชนิดนี้เหมาะสำหรับงานอาคารสูง งานโครงสร้างขนาดใหญ่หรืองานใดๆ ที่ต้องการกำลังอัดสูง ภายหลังจากการเทคอนกรีต … Read More

มอร์ตาร์ คอนกรีต

คุณสมบัติ มอร์ตาร์ เป็นส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ ทราย น้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีต ประเภทลดปริมาณน้ำที่ใช้ในส่วนผสม และหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ขั้นตอนการทำงาน มอร์ตาร์ ถูกออกแบบเพื่อใช้สำหรับงานเทปรับระดับพื้นผิวคอนกรีต ที่ไม่ต้องการกำลังอัด หรือ เทหล่อเลี้ยงท่อก่อนการลำเลียงคอนกรีตโดยการใช้ปั๊ม ปัจจุบันมีสินค้าให้เลือกตามปริมาณซีเมนต์ในส่วนผสมตั้งแต่ 300 … Read More

1 2