รอยร้าวของคอนกรีต ที่เกิดจากคอนกรีตไม่แข็งตัว

รอยร้าวของคอนกรีต ที่เกิดจากคอนกรีตไม่แข็งตัว การสร้างอาคารใหม่ จำเป็นจะต้องมีการควบคุมการทำงานโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อลดปัญหาการแตกร้าวของคอนกรีต ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่บางครั้งการเทคอนกรีตไม่ถูกวิธีก็อาจจะสร้างรอยร้าวขึ้นมาได้ ซึ่งรอยร้าวชนิดนี้จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 2 – 8 ชั่วโมง ภายหลังจากการเทคอนกรีต โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกร้าวชนิดนี้แบ่งออกเป็นประเภทหลักๆ ได้ดังนี้ – การขยับตัวของแบบหล่อคอนกรีต (Form or Subgrade … Read More

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (SLUMP TEST)

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) ใช้เพื่อทดสอบหาค่าความข้นเหลวของคอนกรีตในสภาพเหลวโดยใช้วิธีการทดสอบหาค่าการยุบตัว เพื่อตรวจสอบความสามารถเทได้ของคอนกรีต (Workability) ค่ายุบตัวไม่ได้เป็นค่าที่วัดความสามารถเทได้ของคอนกรีตโดยตรง แต่เป็นการวัดความข้นเหลวของคอนกรีต (Consistency) หรือลักษณะการไหลตัวของคอนกรีต (Flow Characteristic) แม้วิธีนี้จะไม่เหมาะสมสำหรับทดสอบคอนกรีตที่เหลว หรือแห้งมากแต่ก็มีประโยชน์อย่างมากและสะดวกสำหรับการควบคุมความสม่ำเสมอของการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ เช่น ในกรณีที่ค่ายุบตัวของคอนกรีตมีค่ามากกว่าปกติที่ออกแบบไว้ แสดงให้เห็นว่าจะต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้นในสัดส่วนผสม ขนาดคละหรือความชื้นในมวลรวมซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตคอนกรีตสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ การทดสอบทำโดยตักคอนกรีตใส่ลงในโคนที่มีลักษณะเป็นกรวยยอดตัดให้ได้ 3 ชั้น … Read More

COLD JOINT – การแก้ปัญหาเวลาที่เทคอนกรีต แล้วคอนกรีตขาดช่วง

ในทางทฤษฎีการหยุดเทคอนกรีตนานเกิน 30 นาที ถ้าจะเทใหม่จะต้องรออีก 20 ชั่วโมง แต่ด้วยเวลาที่จำกัดเพื่อที่จะต้องเร่งปิดงานให้เสร็จทันกำหนดจึงไม่สามารถรอนานขนาดนั้นได้ เพราะจะไปกระทบกับงานในช่วงถัดไปที่ได้กำหนดเวลาเอาไว้แล้ว ดังนั้นจึงควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องรวดเดียวจนเสร็จ แต่ก็มักจะมีเหตุสุดวิสัยที่ต้องหยุดงาน เช่น คอนกรีตขาดช่วงเพราะรถส่งคอนกรีตมาหน้างานไม่ทัน เป็นต้น ในบล็อกนี้จึงได้เขียนถึงการแก้ปัญหาเวลาคอนกรีตขาดช่วงแล้วจะทำยังไงให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด การแก้ปัญหาเวลาที่เทคานคอนกรีตแล้วคอนกรีตขาดช่วง วิเคราะห์ตามโครงสร้างของคานคอนกรีต จะมีความสามารถรับแรงอัดและแรงเฉือนได้ดี แต่จะไม่สามารถรับแรงดึงได้ ดังนั้นจึงจะเป็นต้องมีเหล็กเสริมเพื่อเพิ่มความสามารถในตรงนี้ และตามลักษณะของโมเมนต์กับแรงเฉือน … Read More

สาเหตุของการเกิดรอยร้าวของคอนกรีต ก่อนที่คอนกรีตจะเริ่มแข็งตัว

การแตกร้าวของคอนกรีตเป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากจะให้เกิดขึ้น แต่บางครั้งถ้าหากเทคอนกรีตไม่ถูกวิธีก็อาจจะสร้างรอยร้าวขึ้นมาได้ ในบล็อกนี้ได้เอาปัญหาการแตกร้าวของคอนกรีตก่อนที่ของคอนกรีตจะเริ่มแข็งตัวมาให้ได้อ่านกัน ซึ่งรอยร้าวชนิดนี้จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 2 – 8 ชั่วโมง ภายหลังจากการเทคอนกรีต โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกร้าวชนิดนี้แบ่งออกเป็นประเภทหลักๆ ได้ดังนี้ การขยับตัวของแบบหล่อคอนกรีต (Form or Subgrade Movement) รอยร้าวชนิดนี้มีสาเหตุมาจากความชื้น ซึ่งจะทำให้แบบพองตัวหรือแบบอาจไม่แข็งแรงพอรับน้ำหนักของคอนกรีตได้ อย่างไรก็ตามวัสดุยึดตรึงแบบ ไม่ว่าจะเป็นตะปู … Read More

การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (PLASTIC SHRINKAGE CRACKING)

การแตกร้าวของถนนนั้นมักจะเกิดขึ้นขณะที่คอนกรีตกำลังแข็งตัวหรือเป็นที่รู้จักกันในเชิงวิชาการคอนกรีตว่า การแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracking) ซึ่งนอกจากมีโอกาสสูงที่จะเกิดกับงานถนนแล้วยังเกิดกับงานประเภทพื้นที่อยู่กลางแจ้งอื่นได้อีกด้วย อาทิ พื้นนอาคาร, ดาดฟ้าและลานประเภทต่างๆ เป็นต้น การแตกร้าวในลักษณะน้ีจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ต่างกับการแตกร้าวเนื่องจากคอนกรีตหดตัวแบบแห้งซึ่งจะเป็นเส้นค่อนข้างตรง และยาว ที่มักจะเกิดข้ึนเมื่อไม่มีการตัดรอยต่อที่ถูกต้อง สาเหตุของการแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก การที่คอนกรีตเกิดการแตกร้าวแบบนี้มีสาเหตุมาจากคอนกรีตหดตัวอย่างเฉียบพลันในช่วงที่ยังอยู่ในสภาพยังไม่แข็งตัว (Pre-hardened Stage) ซึ่งคอนกรีตในช่วงนี้แทบจะไม่มีความสามารถในการรับแรงเค้นที่เกิดจากแรงดึง (Tensile … Read More

คอนกรีตหมดอายุ เราจะรู้ได้ยังไง

คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready-Mix Concrete) เป็นคอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงาน แต่การขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ซึ่งจะต้องส่งให้ถึงสถานที่ก่อสร้างภายในระยะเวลาที่กำหนด หากส่งล่าช้าจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของคอนกรีตผสมเสร็จ หรืออาจจะถึงขั้นไม่สามารถนำคอนกรีตผสมเสร็จนั้นมาใช้งานได้ คอนกรีตผสมเสร็จจะมีอายุประมาณ 2 ชั่วโมงนับตั้งแต่ผลิตเสร็จ ก็จะเริ่มทำการเซ็ตตัว โดยปกติแล้วจะต้องเร่งเทคอนกรีตให้ทันภายในเวลา 2 ชั่วโมง เนื่องจากว่าถ้าช้ากว่านี้ปูนก็จะเริ่มติดในรถโม่ ดังนั้นก่อนจะสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จเพื่อมาใช้ในงานก่อสร้าง ควรตรวจสอบระยะทาง และระยะเวลาในการเดินทางให้ดี รวมไปถึงควรเตรียมพื้นที่หน้างานและคนงานให้พร้อม … Read More

คอนกรีตผสมเสร็จ ควรเทให้เสร็จภายใน 2 ชั่วโมง

คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready-Mix Concrete) เป็นคอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงานแล้วลำเลียงใส่รถเพื่อจัดส่งให้กับหน่วยงานก่อสร้างต่างๆ แต่การขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ซึ่งจะต้องส่งให้ถึงสถานที่ก่อสร้างภายในระยะเวลาที่กำหนด หากส่งล่าช้าจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของคอนกรีตผสมเสร็จ หรืออาจจะถึงขั้นไม่สามารถนำคอนกรีตผสมเสร็จนั้นมาใช้งานได้ คอนกรีตผสมเสร็จจะมีอายุประมาณ 2 ชั่วโมงนับตั้งแต่ผลิต ก็จะเริ่มทำการเซ็ตตัว โดยปกติแพล้นท์คอนกรีตจะไม่ยอมให้การเทคอนกรีตล่าช้ากว่า 2 ชั่วโมงอยู่แล้ว เนื่องจากว่าถ้าช้ากว่านี้ปูนก็จะเริ่มติดในรถโม่ อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแยกปูนออกมาอีกด้วย และจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จไปให้กับลูกค้ารายอื่นไม่ทันอีกด้วย การขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จ จะต้องมีใบจ่ายสินค้าแนบมาด้วย … Read More

คอนกรีตที่ดีต้องบ่ม (ให้สุก)

เมื่อเทคอนกรีตเสร็จแล้วคอนกรีตสามารถแข็งตัวได้เองแต่ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าต้องการให้คอนกรีตมีคุณภาพท่ีดี มีความแข็งแรงทนทานและใช้งานได้นานต้องทำการบ่มคอนกรีตเสียก่อน ซึ่งเมื่อผสมคอนกรีตต้องใช้น้ำในการผสม จะทำให้เกิดปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ เรียกว่าปฏิกิริยาไฮเดรชันทำให้คอนกรีตแข็งตัวและรับกำลังได้ ปกติแล้วคอนกรีตสามารถแข็งตัวได้ภายใน 5 – 6 ชั่วโมง ภายหลังจากการผสมน้ำ และมีกำลังเพิ่มข้ึนอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเพิ่มกำลังของคอนกรีตไม่สามารถแยกได้ด้วยการดูจากตาเปล่า คือเราไม่สามารถบอกได้ว่าคอนกรีตที่เทพื้น กับคอนกรีตที่เทคาน ส่วนใดให้กำลังสูงกว่า การจะบอกว่าคอนกรีตส่วนไหนให้กำลังสูงกว่าต้องนำไปทดสอบโดยการกดให้แตก แล้ววัดว่าคอนกรีตดังกล่าวรับกำลังได้มากน้อยเพียงใด แม้ว่าคอนกรีตต้องการน้ำในส่วนผสมเพื่อทำปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ให้มากและสมบูรณ์ท่ีสุด … Read More

คอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE)

คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete) คือ คอนกรีตที่มีการเพิ่มสมรรถภาพการรับน้ำหนัก โดยการนำเหล็กเข้ามาเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถที่ขาดไปของคอนกรีต โดยเฉพาะในเรื่องความเปราะและการรับแรงดึง กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดกำลังคือ คอนกรีตรับแรงอัดและเหล็กเสริมรับแรงดึง เนื่องจากคอนกรีตมีความแข็งแรงในการรับแรงอัดได้ดีแต่มีความอ่อนแอในการรับแรงดึง ดังนั้นเมื่อรับน้ำหนักจะเกิดการแตกร้าวจากการหดตัวและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดหน่วยแรงดึงเกินกว่าที่คอนกรีตจะรับได้ ในคานคอนกรีตโมเมนต์ดัดที่เกิดขึนบนหน้าตัดจะถูกต้านทานโดยคู่ควบแรงอัด-แรงดึงในคอนกรีต คานดังกล่าวจะวิบัติอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดรอยร้าวครั้งแรก ในคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กเส้นจะถูกเสริมเข้าไปในคอนกรีตเพื่อรับแรงดึงทำหน้าท่ีแทนคอนกรีตหลังเกิดการแตกร้าว เพื่อทำหน้าท่ีเป็นแรงคู่ควบร่วมกับแรงอัดในคอนกรีตในการต้านทานโมเมนต์ดัดท่ีเกิดจากน้ำหนักบรรทุก เหล็กและคอนกรีตท้างานร่วมกันอย่างดีเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กและคอนกรีตมีเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการเลื่อนไถลของเหล็กเสริม … Read More

การเทลีน (LEAN CONCRETE) เรื่องพื้นฐานงานก่อสร้างที่ไม่ควรละเลย

เทลีนหรือการเทคอนกรีตเพื่อปรับผิวหน้าดิน นิยมทำเพื่อเตรียมพื้นที่ไว้รองรับการผูกเหล็กและการเทคอนกรีตในงานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้สำหรับเทรองก้นหลุมป้องกันความสกปรกแก่คอนกรีตและเหล็กเสริม เช่น ดินโคลน น้ำใต้ดิน ช่วยให้ทำงานได้สะดวก ไม่เฉอะแฉะ การเทลีน (Lean Concrete) ยังช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้นด้วย เช่นการผูกเหล็กเพื่อทำโครงสร้างมีระดับติดกับพื้นดินอย่างเช่นฐานรากหรือคานคอดิน เนื่องจากเหล็กเสริมควรจะมีคอนกรีตหุ้มอยู่ไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้าง และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิมอีกด้วย

1 2